บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านความยั่งยื
ไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในฐานะผู้จัดหาวัตถุดิบหลั กทางการเกษตรสำหรับการผลิ ตอาหารสัตว์ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทดำเนินการทวนสอบยืนยั นความถูกต้องของมาตรฐานการจัดชื้ อวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสั ตว์ คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ที่จำเป็นต้องมีองค์กรกลาง (Third party) มาตรวจรับรองความโปร่งใส พร้อมกับรับฟังความเห็นจากผู้มี ส่วนได้เสียทุกกลุ่ม มั่นใจว่าหลักเกณฑ์ ของมาตรฐานครอบคลุมทั้งด้ านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่ งแวดล้อม ปราศจากการบุกรุกพื้นที่ป่ าและการเผาแปลงเพาะปลูก บริหารจัดการแรงงานที่ดี เคารพหลักสิทธิมนุษยชน โปร่งใสและตรวจสอบได้ตลอดห่ วงโซ่อุปทาน และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่ างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs)
“การขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยื นจำเป็นต้องสานพลังความร่วมมื อจากทุกภาคส่วน เพื่อให้การดำเนินจั ดทำและการใช้มาตรฐานการจัดซื้ อสินค้าเกษตร ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริ งต่อเกษตรกร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สิ่งแวดล้อม สังคมไทยและสังคมโลก” ไพศาลกล่าว
อรรณพ ยังวนิชเศรษฐ ผู้แทนเกษตรกรสมาชิก RSPO องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้ วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า วันนี้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิ ดเห็นกับเกษตรกรกลุ่มต่างๆทั้ง มันสำปะหลัง ข้าวโพด ในประเด็นกาารปรับตัวกั บมาตรฐานการจัดซื้อสินค้าเกษตร และความจำเป็นของระบบตรวจสอบย้ อนกลับ และสนับสนุนว่ามาตรฐานควรได้รั บการทวนสอบโดย Third party ปีละครั้ง
ด้าน ดร.สมคิด ดำน้อย ผอ.กองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิ จใหม่และการจัดการก๊าซเรื อนกระจกสำหรับภาคเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ ภาคเอกชนริเริ่มกำหนดมาตรฐานดั งกล่าว ที่ผ่านมามาตรฐานในลักษณะนี้ใช้ กับ ปาล์มน้ำมัน และ เกษตรอินทรีย์สร้างผลเชิงบวกกั บทั้งเกษตรกร สังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนมาตรฐานตัวนี้กำหนดชัดเจนว่ าไม่รุกป่า ไม่เผาทำลาย รวมถึงประเด็นด้านแรงงาน จึงมั่นใจว่าจะเป็นมาตรฐานที่ดี ตัวหนึ่ง
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้ าเกษตรและอาหารของไทยกำลังปรั บตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยเฉพาะกฎระเบียบทางการค้าสากล ทั้ง EU-CBAM (มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ ามพรมแดน)
EU-DR (กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ ทำลายป่าของอียู) รวมถึง EU-CSRDDD (ข้อกำหนดให้ทุกบริษัทมี การตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานอย่ างรอบด้านความรับผิดชอบต่ อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่ งแวดล้อม) ทำให้ผู้ผลิตสินค้ าเกษตรและอาหารจำเป็นต้องปรับตั วให้ทันต่อการเปลี่ ยนแปลงกฎระเบียบทางการค้าและหลั กเกณฑ์ด้านความยั่งยืนในระดั บสากล เพื่อเพิ่มขี ดความสามารถทางการแข่งขันของสิ นค้าเกษตรของไทยบนเวทีการค้าโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น