ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (Pipat Luengnaruemitchai, Chief Economist, KKP Research, Kiatnakin Phatra Financial Group) กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2024 มีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด 4 ประเด็น- เศรษฐกิจโลกกำลังจะเติบโตสวนทางกัน (Growth divergence) เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีทิศทางชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่จะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเศรษฐกิจอันดับหนึ่งและสองของโลก นำโดยสหรัฐอเมริกาที่จะยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งกว่าที่คาด ขณะที่เศรษฐกิจจีนกลับเผชิญกับปัญหาชะลอตัว
- อัตราดอกเบี้ยโลกผ่านจุดสูงสุดและเริ่มปรับตัวลดลง เงินเฟ้อโลกเริ่มปรับลดลง ทำให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาได้ แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังมีความแข็งแกร่ง ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากไม่ได้นัก
- การเมืองระหว่างประเทศเป็นประเด็นที่มีความไม่แน่นอน และส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะสงคราม และการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสหรัฐอเมริกา
- เศรษฐกิจไทยจะยังฟื้นตัวช้าและจบรอบดอกเบี้ยขาขึ้น การฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของการส่งออกเป็นยังแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักในปีนี้ ขณะที่การกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายภาครัฐยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น คาดว่าดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะคงอยู่ที่ 2.5% เกือบตลอดทั้งปี แต่มีโอกาสปรับลดลงได้หากการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้ หรือแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าที่คาดไว้
นอกจากประเด็นระยะสั้นแล้ว ยังมีปัญหาศักยภาพของเศรษฐกิ
จไทยในระยะยาวทุกครั้งที่เกิดวิ
กฤตเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยกลับเติบโตต่ำลงเรื่
อย ๆ โดยเฉพาะหลังวิกฤตโควิด-19 ที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าเมื่อผ่
านไปเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเติ
บโตได้ตามปกติ แต่หลังจากผ่านวิกฤตมาประมาณ 2 ปี เศรษฐกิจไทยยังไม่กลับที่เดิม และฟื้นตัวได้ได้ช้ากว่าที่
ควรจะเป็น
ภาคท่องเที่ยวที่เคยเป็นเครื่
องจักรสำคัญก่อนโควิด-19 ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับไปได้ที่
จุดเดิมจากนักท่องเที่ยวจีนที่
หายไป ขณะที่การส่งออกที่เดิ
มไทยเคยอาศัยห่วงโซ่อุ
ปทานโลกอย่างจีนเป็นประตูสู่
ตลาดโลก แต่ในช่วง 2-3 ปีหลัง ไทยทั้งไม่สามารถขยายตัวในห่
วงโซ่อุปทานโลก และสูญเสียความสามารถในการแข่
งขันและเริ่มขาดดุลการค้ากับจี
นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสินค้าหลายประเภท เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก หรือยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมกันนั้น ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศยั
งมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งปัญหาสังคมสูงอายุและกำลั
งแรงงานที่กำลังถดถอย ปัญหาคุณภาพการศึกษาที่
สะสมมาตลอดหลายทศวรรษ และการลงทุนที่หายไปเกือบ 30 ปีหลังจากวิกฤตต้มยำกุ้ง
“เศรษฐกิจไทยตอนนี้เรียกว่ามาถึ
งจุดพลิกผัน สิ่งที่สำคัญกว่าอาจจะไม่ใช่ว่
าเราไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไรหรื
อจะแก้ไขอย่างไร แต่อาจจะเป็นการหาฉันทามติร่
วมกันของสังคมว่าจะเริ่มแก้ไขปั
ญหาเหล่านี้อย่างไร และเป็นเรื่องที่ต้องเริ่มพูดคุ
ยกัน เพราะการแก้ไขปัญหาพวกนี้ต้
องใช้เวลา อาจจะหลายทศวรรษกว่าจะเห็นผล”
กรณีตัวอย่างเช่นการปฏิรูปเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในยุคของนายชินโสะ อะเบะ นายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2006-07 และ 2012-20 ที่นำเสนอนโยบาย “ลูกศร 3 ดอก” ที่เน้นไปที่นโยบายการเงิน นโยบายการคลังที่เน้นการสร้างความเชื่อมั่น และการนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ ทั้งด้านตลาดแรงงาน การเกษตร การกำกับดูแลบริษัท ด้านกฎระเบียบต่างๆ การแข่งขันของเอกชน การขึ้นภาษีบริโภค และการนำญี่ปุ่นเข้าร่วมข้อตกลงการค้า กระนั้นก็ยังต้องใช้เวลาเกือบทศวรรษกว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มฟื้นตัว โดยตลอดระยะเวลาดังกล่าว นายกอะเบะต้องยุบสภาเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจหลายครั้ง เพื่อสร้าง “ฉันทามติทางการเมือง” เพราะมีคนทั้งได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์นโยบายปฏิรูป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น