CEA สร้างหมุดหมายงานสร้างสรรค์ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี เปิดภาพความสำเร็จงาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

CEA สร้างหมุดหมายงานสร้างสรรค์ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี เปิดภาพความสำเร็จงาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT

 


สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) 
หรือ CEA ชูความสำเร็จงาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างให้เป็นหมุดหมายแห่งงานสร้างสรรค์ครั้งใหญ่ประจำปี มุ่งจุดประกายไอเดียเชื่อมต่อโอกาสใหม่ทางธุรกิจให้นักสร้างสรรค์ไทยตลอดจนสร้างเครือข่ายให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ ผ่านกิจกรรม รูปแบบหลัก ได้แก่ Creativities Unfold, Creative Business Space และ Creative Excellence Awards โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 700 คน

ดร. อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์.JPG

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวต้อนรับนักสร้างสรรค์ไทยว่า “CEA ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านองค์ความรู้ต่าง ๆ อีกทั้งการเติบโตของอุตสาหกรรมและธุรกิจสร้างสรรค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยในภาพรวมได้ จึงได้จัดงาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT ในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อสร้างหมุดหมายใหม่ที่จะยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย พร้อมสร้างแพลตฟอร์มเชื่อมต่อเวทีทางความคิดสร้างสรรค์ จุดประกายให้นักสร้างสรรค์ไทยเกิดความตื่นตัว พร้อมเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายใหม่ ๆ รวมถึงมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ เพื่อเปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกล และสามารถปรับตัวให้เท่าทันโลกต่อไป”


เริ่มต้นด้วยงาน CREATIVITIES UNFOLD งานชุมนุมทางความคิดสร้างสรรค์ ที่จัดขึ้นภายใต้ธีม VISIONAIRE: Reminisce/The Way Forward - แปลงอดีต เปลี่ยนวิสัยทัศน์อนาคต” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้นำความคิดระดับนานาชาติแห่งโลกธุรกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้นำเสนอมุมมองสร้างสรรค์วิถีใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Jaime Hayon (ไฮเม่ ฮายอน)พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร, Kentaro Kimura (เคนทาโร คิมูระ), Stephen Jenner (สตีเฟน เจนเนอร์) และ Lyndon Neri (ลินดอน เนรี่)


มร. ไฮเม่ ฮายอน ดีไซเนอร์ระดับโลกสัญชาติสเปน Photography Courtesy of CEA and Jaime Hayon.JPG

  Photography Courtesy of CEA and Jaime Hayon 


Jaime Hayon (ไฮเม่ ฮายอน) จาก Jaime Hayon Studio ดีไซเนอร์ชาวสเปนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก ที่มาในหัวข้อ “Design Follows Function, and Then What?” ได้ถ่ายทอดมุมมองถึงงานดีไซน์ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงนั้นควรเต็มไปด้วยความสนุกสนาน น่าตื่นเต้น ด้วยการผสานประสบการณ์ต่าง ๆ ปรับแต่งให้เหมาะสมกับบริบทยุคใหม่ โดยไม่แปลกแยก

    

พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร นักเทคโนโลยีจาก MIT Media Lab  Photography Courtesy of CEA and Pat Pataranutaporn.JPG
       Photography Courtesy of CEA and Pat Pataranutaporn


พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร จาก MIT Media Lab นักเทคโนโลยี นักวิจัย ที่ลุ่มหลงการผนึกกำลังของมนุษย์และ AI อย่างสร้างสรรค์ ที่มาในหัวข้อ “Human + AI for the Future of Entertainment & Storytelling” แบ่งปันเรื่องราวของเทคโนโลยีสุดล้ำที่น่าตื่นเต้น ไม่ว่าจะเป็น Bio-Digital Symbiosis ไปจนถึง Cyber-Biome ที่เขาเชื่อว่าจะช่วยปลดล็อกความสามารถใหม่ ๆ ได้มากมาย ตั้งแต่ความสามารถในการตัดสินใจที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย Human-AI Symbiosis, สุขภาพที่ดีขึ้นด้วย Closed-Loop Wearables, ความสามารถในการค้นพบตัวตนด้วย Virtual Human และการเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ด้วย AI Generated Character                                                               

 

มร. เคนทาโร คิมูระ นักโฆษณาชาวญี่ปุ่น บริษัทฮากุโฮดะ   Photography Courtesy of CEA and Kentaro Kimura.JPG
       Photography Courtesy of CEA and Kentaro Kimura


Kentaro Kimura (เคนทาโร คิมูระ) จาก Hakuhodo ผู้นำทางความคิดสร้างสรรค์ชาวญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาแนวหน้าของโลก ในหัวข้อ “Unimagined Cultural Solutions: A Global Journey into the Future Creativity” ชวนผู้ฟังเข้าใจความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน ไปพร้อมกับมุมมองในด้านของความคิดสร้างสรรค์จากการนำเสนอ Solutions ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับทุกประเทศ จนเกิดเป็น Solutions ที่เชื่อมโยงไปกับวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน

  

มร. สตีเฟน เจนเนอร์ นักสื่อสารมวลชนและที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ Motion Picture Association  Photography Courtesy of CEA.JPG
           Photography Courtesy of CEA and Stephen Jenner

Stephen Jenner (สตีเฟน เจนเนอร์) จาก Motion Picture Association นักสื่อสารมวลชนและที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมภาพยนตร์คนสำคัญคนหนึ่งของโลก ในหัวข้อ “Mission Possible: The Rise & Rise of the Asia Pacific Screen Industry” เจาะลึกไปกับการเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์ กับการเติบโตที่ไม่หยุดยั้งของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในเอเชียแปซิฟิก

         

                                                        

มร. ลินดอน เนรี่ สถาปนิกแห่งเอเชีย จากสตูดิโอ Neri & Hu Photography Courtesy of CEA and Lyndon Neri.JPG
      Photography Courtesy of CEA and Lyndon Neri

 

Lyndon Neri (ลินดอน เนรี่) จาก Neri & Hu สถาปนิกแห่งเอเชียผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้โลกผ่านผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ เน้นแปลงไอเดียให้เต็มเปี่ยมไปด้วยฟังก์ชันการใช้งาน และอ้างอิงถึงบริบทที่เหมาะสม ในหัวข้อ “Liminality: การก้าวข้ามพรมแดนทางการคิดเชิงสถาปัตยกรรม” กับการตอกย้ำแนวคิดต่อนักออกแบบสถาปัตยกรรมไม่ใช่เพียงแค่ ‘สร้าง’ แต่ต้อง ‘รักษา’ เค้าโครงจากอดีตสืบต่อมาจนถึงยุคปัจจุบันด้วย

     

ในขณะเดียวกัน ยังมีส่วนของ Creative Business Space ที่เป็นการเปิดพื้นที่ Business Matching ให้กลุ่มสตูดิโอและผู้ประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ ได้แลกเปลี่ยนและต่อยอด เชื่อมโยงโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ  ในหัวข้อ Creative Gastronomy” เพื่อตอบสนองการเติบโตของธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมอาหารผลักดันเพื่อสร้างตัวตน เอกลักษณ์ และประสบการณ์ความแปลกใหม่ โดยในงานนี้ได้รวมรวบกลุ่มธุรกิจบริการประเภทอาหารสร้างสรรค์ โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้แก่

กลุ่มออกแบบพื้นที่และประสบการณ์ เช่น WhiteSpace, Party/Space/Design, Hiuppu Design, Silpin เป็นต้น

กลุ่มที่พัฒนาแบรนด์และคอนเทนต์ เช่น ARN Creative Studio, The Co-Creative, Wide & Narrow เป็นต้น

กลุ่มดนตรี เช่น  PNR: All about Music เป็นต้น

กลุ่มการออกแบบอาหาร และสไตลิสต์ เช่น Karb Studio เป็นต้น

กลุ่มเทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ เช่น FabCafe Bangkok,  Yellaban เป็นต้น 

 

Business space01.JPG
Business space02.JPG
Business space03.JPG
Business space04.JPG

 


และสุดท้าย ทาง CEA ยังได้จัดงาน Creative Excellence Awards หรือ CE Awards เวทีประกาศรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกกับการมอบรางวัลให้กับนักสร้างสรรค์ตัวจริงที่นำความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มาประยุกต์ใช้ในการสร้างให้เกิดคุณค่า (Value Creation) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบ (Impact) ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ ซึ่งได้รับเกียรติจากนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาเป็นผู้มอบรางวัล

โดยในปีนี้แบ่งเป็น 3 สาขา ทั้งหมด 15 ประเภท มีจำนวนทั้งสิ้น 28 รางวัล ประกอบด้วย

1) Creative City Awards รางวัลการพัฒนาย่าน สถานที่ชุมชน หรือเมือง รวมทั้งกิจกรรมที่ดึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ 1.) Festival 2.) Branding 3.) Cultural Asset 4.) Regeneration 5.) Advocacy

2) Creative Business Awards แบ่งเป็น 2 สาขา ได้แก่ 1.) Sustainability Awards รางวัลสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการหรือโครงการที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่

1.) Sustainable Product Award (For Large Organization) 2.) Sustainable Product Award (For SME & Community) 3.) Sustainable Project Award (For Large Organization) 4.) Sustainable Project Award (For SME & Community) และ 2.) Value Creation Awards รางวัลของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคุณค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจ ทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ 1.) Value Creation และ 2.) Cross-Sector Collaboration

3) Creative Social Impact Awards รางวัลสำหรับการนำความคิดสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ไขหรือคลี่คลายประเด็นต่าง ๆ ทางสังคม จำนวน ประเภท ได้แก่ 1.) Community Engagement 2.) Creative Well-Being 3.) Creative for Elderly และ 4.) Creative Education

 

ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์.JPG

ด้าน ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวปิดท้ายว่า “ทาง CEA หวังเป็นอย่างยิ่งว่า งาน CREATIVE BUSINESS CONNEXT จะสามารถช่วยส่งเสริม ต่อยอด และยกระดับความสามารถของบุคลากรสร้างสรรค์ผ่านเวทีแห่งการให้ความรู้สร้างแรงบันดาลใจโดยผู้นำความคิดระดับโลกเกี่ยวกับเทรนด์และทิศทางของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในอนาคต อีกทั้ง ยังมีพื้นที่สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงนักสร้างสรรค์เข้ากับภาคธุรกิจตลอดจนการให้รางวัลสำหรับผู้ที่สร้างผลงานได้ดีเยี่ยมในปีที่ผ่าน ๆ มา เพื่อเป็นแบบอย่าง และแนวทางให้กับนักสร้างสรรค์คนอื่นที่จะได้สร้างผลงานที่สร้างความยั่งยืนอย่างสร้างสรรค์ให้กับประเทศต่อไป”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad