วันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานการประชุ
- เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลั
งอาจฟื้นตัวได้น้อยกว่าที่ คาดไว้เดิม เศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2566 แผ่วลง เป็นผลจากการที่เศรษฐกิจจีนไม่ ได้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หลังการเปิดประเทศอย่างที่ คาดการณ์ไว้ โดยการฟื้นตัวในภาคบริการมีสั ญญาณแผ่วลง ขณะที่ภาคการผลิตยังไม่ฟื้นตัว ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปเผชิญแรงกดดันจากภาวะอั ตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ อยู่ในระดับสูง การฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ล่าช้ากว่าที่คาด ทำให้เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปี หลังยังอยู่ในภาวะชะลอตัว จนกว่าประเทศใหญ่อย่างเช่ นประเทศจีนจะมีนโยบายกระตุ้ นเศรษฐกิจออกมา
- เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่
องจากการท่องเที่ยวและความเชื่ อมั่นของผู้บริโภค เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตั วต่อเนื่องจากการฟื้นตั วของภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 เดือนแรกเข้ามาสูงกว่า 8 ล้านคน และทั้งปีมีศักยภาพที่จะมากถึง 30 ล้านคน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการจ้ างงาน นอกจากนี้ รายได้ในภาคเกษตรและเกษตรอุ ตสาหกรรมยังขยายตัว ทำให้ในภาพรวมผู้บริโภคมี ความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นและมี การใช้จ่ายบริโภคเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้ าอุตสาหกรรมได้รั บผลกระทบจากการฟื้นตัวที่ล่าช้ าของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าการส่งออกในปี 2566 จะหดตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่ านมา
- เงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยท้าทาย ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับเพิ่มอั
ตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่ อง ล่าสุดปรับขึ้นอีก 0.25% เป็น 2% และมีแนวโน้มว่าจะยังปรับขึ้นต่ อไปด้วยเหตุว่าเงินเฟ้อพื้ นฐานยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังอาจได้รับแรงกดดั นด้านเงินเฟ้อเพิ่มเติ มจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญที่ จะส่งผลกระทบต่อผลผลิ ตเกษตรและราคาสินค้าในระยะข้ างหน้า รวมถึงหากมีการปรับขึ้นค่ าแรงในอนาคต
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 ของ กกร.
(ณ เม.ย. 66) ปี 2566
GDP 3.0 ถึง 3.5
ส่งออก -1.0 ถึง 0.0
เงินเฟ้อ 2.7 ถึง 3.2
(ณ พ.ค. 66) ปี 2566
GDP 3.0 ถึง 3.5
ส่งออก -1.0 ถึง 0.0
เงินเฟ้อ 2.7 ถึง 3.2
(ณ มิ.ย. 66)
GDP 3.0 ถึง 3.5
ส่งออก -1.0 ถึง 0.0
เงินเฟ้อ 2.7 ถึง 3.2
- ที่ประชุม กกร. เห็นว่า ทิศทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว เห็นได้จากความสำเร็จในการจั
ดงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่ องดื่ม THAIFEX – ANUGA ASIA 2023 โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่ างประเทศ ร่วมกับ หอการค้าไทย และ โคโลญเมสเซ่ เยอรมนี ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีผู้ซื้อและผู้นำเข้ าจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิ จด้วยมูลค่าการสั่งซื้อกว่า 120,000 ล้านบาท มีผู้เข้าร่วมงาน 3,034 บริษัท บริษัทไทย 1,109 บริษัทและบริษัทต่างประเทศ 1,925 บริษัท จาก 45 ประเทศ โดย 5 วัน มีผู้เข้าชมงานทั้งสิ้น 131,039 คน เพิ่มขึ้น 58% จากปีก่อน มีส่วนสำคัญให้ตัวเลขการส่ งออกอาหารของไทยในปีนี้ มีมูลค่าถึง 1.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อน โดยมีมูลค่า 1.36 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึ งภาพรวมเศรษฐกิจที่กำลังกลับสู่ ภาวะปกติ และเป็นการขยายผลในการขับเคลื่ อนนโยบาย BCG Model ของไทย ดังนั้นต้องรักษาแรงส่งจากการฟื้ นตัวดังกล่าวให้มีความต่อเนื่อง
- ที่ประชุม กกร. ยังคงมองว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็
นเครื่องยนต์หลัก ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ สำคัญในขณะนี้ การดูแลนักท่องเที่ยวให้มี ความสะดวก ปลอดภัย จะเป็นแรงจูงใจดึงดูดให้ต่ างชาติเลือกเดินทางเข้ ามาในประเทศมากขึ้น ภาครัฐควรมีมาตรการสนับสนุนเพื่ อสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่ องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ปัญหาคอขวดเรื่ องการเพิ่มจำนวนเครื่องบินให้กั บสายการบินของไทย ยังเป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว ซึ่งหากสามารถแก้ไขปั ญหาสายการบินให้เพียงพอ นอกจากนี้ยังต้องแก้ปั ญหาขาดแคลนน้ำตามพื้นที่ท่องเที่ ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะตามเกาะต่างๆ
- นอกจากนี้ประเทศไทยมี
โอกาสในการดึงดูดนักธุรกิจจากต่ างประเทศเข้ามาลงทุนและทำงานเป็ น Hub มากขึ้น จากอานิสงส์ของความขัดแย้งด้ านภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลให้เกิ ดการย้ายฐานการผลิต เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นเป้ าหมายของนักลงทุนทั่วโลก ดังนั้น ภาครัฐควรมีการปรับปรุงโครงสร้ างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน โดยเฉพาะการปฏิรูปกฏหมาย กฏระเบียบเพื่อยกระดั บความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ (Ease of Doing Business) เช่น การปรับปรุงปฏิรูปการขอวีซ่าให้ สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น
- ที่ประชุม กกร.มีความกังวล เรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิ
จโลกที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ซึ่งติดลบติดต่อกัน 7 เดือน ทำให้คำสั่งซื้อลดลง แต่ภาคอุตสาหกรรมยังคงต้องมี การรักษาการผลิต เพื่อพยุงการจ้างแรงงานให้ไม่ ได้รับผลกระทบ หากการส่งออกยังไม่มีการฟื้นตัว อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยมี 19 กลุ่มอุตสาหกรรม จาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรกล เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
- ในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ภั
ยแล้ง ที่ประชุม กกร. มองว่าเป็นเรื่องที่มี ผลกระทบในระดับสูงในภาวะที่ทั่ วโลกเผชิญกับปัญหา เอลนีโญในปีนี้ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่ อระบบเศรษฐกิจ 36,000 ล้านบาท โดย กกร. ได้มีการทำหนังสือส่งถึงนายกรั ฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เสนอให้เร่งจัดทำมาตรการรับมื อภัยแล้ง ทั้งในระยะเร่งด่วนและในระยะยาว นอกจากนี้ ที่ประชุม มองว่าปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม เป็นต้นทุนค่าเสี ยโอกาสของประเทศ ภาครัฐควรบูรณาการแนวทางการแก้ ปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ าและเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิ จในระยะยาว
- ที่ประชุม กกร. มีความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่
ยังอยู่ในระดับสู งโดยเฉพาะในหมวดอาหารที่ปรับเพิ่ มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัดส่วนค่าครองชี พของผู้บริโภคที่สูงขึ้นกว่ าในอดีต และอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติ มจากปัญหาภัยแล้ง นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อยังมีปั จจัยกดดันที่อาจอยู่สูงต่อเนื่ องจากการส่งผ่านราคาของผู้ ประกอบการจากภาระต้นทุนที่อยู่ ในระดับสูง และมีปัจจัยที่อาจกระทบต่อเงิ นเฟ้อในระยะข้างหน้า ได้แก่ แนวโน้มค่าแรงขั้นต่ำที่อาจเพิ่ มขึ้นในระยะข้างหน้า หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 450 บาทต่อวัน อาจทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึง 0.82% ถ้าไม่มีการเพิ่มทั กษะแรงงานและผลิตภาพแรงงานให้ เหมาะสมไปพร้อมกับการปรับเปลี่ ยน และยังมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันดี เซลที่อาจเพิ่มสูงขึ้น หากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมั นดีเซลลิตรละ 5 บาท สิ้นสุดลงในวันที่ 20 ก.ค. 66 ซึ่งเป็นต้นทุนค่าขนส่งของผู้ ประกอบการ ปัจจัยเหล่านี้จะกดดันต้นทุ นของทั้งผู้ประกอบการและครัวเรื อน นอกจากนี้การปรับขึ้นอั ตราดอกเบี้ยนโยบาย อาจซ้ำเติมต้นทุนของผู้ ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ดังนั้นมองว่าการปรับขึ้นอั ตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. จะต้องรักษาสมดุลระหว่างเศรษฐกิ จไทยที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และไม่ทั่วถึง เพื่อช่วยพยุงให้เศรษฐกิจฟื้นตั วได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น