จากการ “พัฒนาทักษะอาชีพนักชิมอาหารปรุ
งสำเร็จคนพิการทางการเห็นเพื่
อสร้างรายได้เสริม” สู่ “
เซนส์ซีรีส์ (Sense series) การเดินทางของประสบการณ์ผสมชากับคนพิการทางสายตา”ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2566 โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มีเป้าหมายเพื่อสร้างอาชีพอิสระและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการทางสายตา
ผศ. ดร.ธิติมา วงษ์ชีรี นักวิจัยสังกัดศูนย์วิจัยและบริการเพื่อชุมชนและสังคม สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า จากการพัฒนาทักษะอาชีพนักชิมอาหารให้กับคนพิการทางสายตา ล่าสุด ทีมวิจัยได้จัดทำโครงการเซนส์ซีรีส์ การเดินทางของประสบการณ์ผสมชากับคนพิการทางสายตาขึ้น ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้จะเป็นกลุ่ม SIG หรือ Sensory Intelligence Group จำนวน 15 คน ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา ที่ผ่านหลักสูตรการทดสอบทางประสาทสัมผัส มีประสบการณ์การชิมชาและผสมชา ออกสูตรชาผสมสมุนไพรและทดสอบตลาดมาแล้ว ผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ Sense series ซึ่งได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ ด้านการทดสอบประสาทสัมผัสจาก
หน่วยวิจัยทางประสาทสัมผัสและผู้บริโภคแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Sensory and Consumer Research Center: KUSCR) โดย ผศ. ดร.อุศมา สุนทรนฤรังษี ผู้ร่วมโครงการ โครงการนี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างทักษะความสามารถและความเข้มแข็งของกลุ่มฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ด้วยการออกแบบสูตรผลิตภัณฑ์ชาเบลนด์ และเชื่อมโยงตลาด ผ่านการอบรมและดูงาน ณ สถานบันชาและกาแฟ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นสถานประกอบการชาที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ รวมทั้งสร้างทักษะผู้ประกอบการและสร้างประสบการณ์และบริการใหม่ที่สามารถเพิ่มรายได้ ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการจากการการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการชา“การเบลนด์ชา หรือการออกแบบสูตรชา ต้องอาศัยความสามารถทางด้านการใช้ประสาทสัมผัส การดมกลิ่นและการชิมเป็นหลัก ‘นักผสมชา’ จึงถือเป็นอาชีพเฉพาะที่ใช้ความรู้ทางด้านประสาทสัมผัส ร่วมกับการฝึกฝนและความสามารถเฉพาะตัว ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของคนพิการทางสายตา”
สำหรับการดำเนินงานจะแบ่งเป็น 3 กิจกรรมหลัก คือ 1.อบรมและดูงาน เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิต การออกแบบสูตรชาและการเบลนด์ชา รวมทั้งการพัฒนาช่องทางการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า 2. อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และทักษะการให้บริการ สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า และ 3. สาธิตการผสมชาและสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าในการเบลนด์ชาและชิมชา ในร้านอาหารและเครื่องดื่มภายในที่ตั้งของศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอด โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ 12 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566
“กิจกรรมแรกที่จัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยได้เชิญผู้ประกอบการชามาแชร์ประสบการณ์ในการทำธุรกิจชา การทำตลาด การเข้าใจตลาด และทำความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภค พร้อมพัฒนาศักยภาพไปสู่นักธุรกิจชา เพื่อให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ชามีความชัดเจนมากขึ้น ที่ไม่ใช่ชาที่ผู้บริโภคซื้อเพราะสงสาร แต่เป็นชาพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากกว่า” หัวหน้าโครงการฯ กล่าว
ด้าน
ผศ. ดร.ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล อาจารย์ประจำสำนักวิชาอุ
ตสาหกรรมเกษตร สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การอาหาร และหัวหน้าสถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า ปัจจุบันความนิยมในการดื่
มชาเบลนด์มีแนวโน้มมากขึ้นอย่
างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในต่างประเทศจะเห็นว่
านิยมชาที่มีสรรพคุณเฉพาะต่อสุ
ขภาพกันมาก เป็นการนำสมุนไพร ผลไม้ หรือดอกไม้อบแห้งตั้งแต่
2 ชนิดขึ้นไปผสมลงไปในขั้นตอนการชงชา ซึ่งวัตถุดิบที่นิยมใช้นำมาเป็นผสมส่วนใหญ่มาจากไทย ขณะที่ตลาดชาในประเทศไทยเองยังเน้นชาที่ผลิตสำหรับตลาดกลุ่มใหญ่
โครงการฯ นี้ ทางสถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้เบื้
องต้นเกี่ยวกับชา ความรู้เรื่องข้
อกำหนดและมาตรฐานชา ให้กับผู้ร่วมโครงการฯ โดยคนพิการยังได้ฝึกปฏิบัติ
การใช้ประสาทสัมผัสผ่านทางการดม การชิม การสัมผัส วัตถุดิบชาจากพืชมากกว่า 50 ชนิด เพราะชาแต่ละตัว ลักษณะกลิ่น และรส จะมีความแตกต่างกัน เพราะบางตัวเข้ากันได้ดี บางตัวก็ตรงข้ามกัน ปริมาณการผสมจึงต้
องเหมาะสมและเป็นไปตามข้
อกำหนดตามมาตรฐานของ อย. นอกจากนี้กิจกรรมการจัดการองค์
ความรู้เรื่องชาแก่ผู้บกพร่
องทางสายตา ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่
1-5 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทำให้คนพิการทางสายตาที่เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ในการเพาะปลูกและแปรรูปชาจากพืช ตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ กับเจ้าของไร่ชาและผู้ประกอบการโรงงานผลิตชา อาทิ โรงงานอบดอกไม้แห้งของโครงการหลวงสะโง๊ะ อำเภอเชียงแสน สถานที่ปลูกและผลิตวัตถุดิบสำหรับชาจากพืช บริษัทเวิลด์โกลด์ (World grow) อำเภอแม่สาย และศึกษาเรียนรู้กระบวนการผลิตชาประเภทต่างๆ โรงงานชาและเข้าเยี่ยมชมไร่ชาวังพุดตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดประสบการณ์การทดสอบชิมชาและผสมชาให้คนพิการได้เรียนรู้ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้สัมผัส ลิ้มรส และนำวัตถุดิบ ไปพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ชาของกลุ่มฯ ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น