วันพุธที่ 1 มีนาคม 2566 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่
- เศรษฐกิจโลกมีโอกาสเกิ
ดภาวะถดถอยลดลงด้วยแรงสนับสนุ นจากกิจกรรมเศรษฐกิจภาคบริการที่ ขยายตัวได้ แต่กิจกรรมภาคการผลิตยังหดตัวต่ อเนื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศหลั กในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวดีขึ้ น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุ นจากภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้น เช่น จากกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยว และการก่อสร้างโดยเฉพาะเศรษฐกิ จสหรัฐฯที่ยังเติบโตได้ จากภาคบริการเป็นหลัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดั บสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมิ นไว้ ส่งผลให้ตลาดกังวลต่อการขึ้นอั ตราดอกเบี้ยของเฟดไปอีกระยะหนึ่ ง อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมกิ จกรรมในฝั่งภาคการผลิตยังคงหดตั วต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความต้ องการสินค้าอุตสาหกรรมตลอดห่ วงโซ่อุปทาน สำหรับการผ่อนคลายมาตรการควบคุ มโรคของจีนนั้นคาดว่าจะส่งผลดี ต่อเศรษฐกิจโลกชัดเจนในช่ วงไตรมาสที่ 2 - การส่งออกของไทยมีแนวโน้มหดตั
วต่ออีกระยะหนึ่ง สอดคล้องกับการส่งออกของคู่แข่ งของไทยในภูมิภาค เช่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ที่มีทิศทางหดตัวเช่นเดียวกัน โดยได้รับผลกระทบจากกิ จกรรมภาคการผลิตของโลกที่ยังอยู่ ในภาวะหดตัว รวมถึงการปรับสมดุลระดับสินค้ าคงคลังหลังจากความต้องการสินค้ าที่ได้อานิสงส์จากโควิด-19 โดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวกับการ work from home ลดลง ซึ่งมีผลให้สินค้าบางประเภทมี แนวโน้มอยู่ในวัฏจักรสินค้าช่ วงขาลง เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็ กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ราคาสินค้าส่งออกยังมีแนวโน้ มลดลงตามทิศทางราคาสินค้าโภคภั ณฑ์ ดังนั้น มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2566 อาจต่ำกว่าปีที่ผ่านมาได้ - คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่เกิด technical recessionแม้ว่าเศรษฐกิ
จไทยในไตรมาสที่ 4/65 จะหดตัว 1.5% เทียบกับไตรมาสที่ 3/65 แต่คาดว่าเศรษฐกิจไตรมาส 1/66 จะไม่หดตัวต่อจนกลายเป็น technical recession โดยการท่องเที่ยวจะเป็นปัจจั ยหลักในการสนับสนุนเศรษฐกิ จในไตรมาสแรกให้ฟื้นตัวได้และคา ดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งปีจะเพิ่มสูงถึงราว 25-30 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าประมาณการเดิมที่ราว 22 ล้านคน ที่ประชุม กกร. จึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3.0-3.5% ตามกรอบเดิมที่เคยประเมินไว้ แม้ว่าการส่งออกจะมีโอกาสหดตั วในกรอบ-1.0% ถึง 0.0% เทียบกับประมาณการเดิมที่คาดว่ าจะขยายตัวได้ 1.0% ถึง 2.0% แต่การท่องเที่ยวและการขับเคลื่ อนการใช้จ่ายของภาครัฐยังเป็นปั จจัยสนับสนุนเศรษฐกิจ สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่ าจะอยู่ในกรอบ 2.7 ถึง 3.2%
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 ของ กกร.
%YoY | ปี 2565 (ณ ธ.ค. 65) | ปี 2566 (ณ ก.พ. 66) | ปี 2566 (ณ มี.ค. 66) |
GDP | 2.6* | 3.0 ถึง 3.5 | 3.0 ถึง 3.5 |
ส่งออก | 5.5* | 1.0 ถึง 2.0 | -1.0 ถึง 0.0 |
เงินเฟ้อ | 6.1* | 2.7 ถึง 3.2 | 2.7 ถึง 3.2 |
หมายเหตุ: * ตัวเลขจริง
- ที่ประชุมกกร. มีความคิดเห็นว่าเนื่
องจากภาคการส่งออก จะมีแนวโน้มชะลอตัว ตามภาวะเศรษฐกิจโลก ดังนั้นเศรษฐกิจไทยควรให้ ความสำคัญในการกระตุ้นการบริ โภคภายในประเทศ เร่งการใช้จ่ายภาครัฐในช่วงเปลี่ ยนผ่านรัฐบาล รวมทั้งอาศัยโอกาสจากภาคการท่ องเที่ยวที่มีการขยายตัวต่อเนื่ องในช่วงนี้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ จะกระจายรายได้สู่ชุมชน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่ อนเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้ ในกรอบประมาณการเศรษฐกิจเดิม - นอกจากนี้ที่ประชุมยั
งแสดงความคิดเห็นเรื่องค่าแรง ความผันผวนของค่าเงินบาทและต้ นทุนค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น ปัจจัยท้าทายเหล่านี้ส่ งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งภาคเอกชน อยากให้ภาครัฐเปิดโอกาสให้ ภาคเอกชนได้ร่วมแลกเปลี่ ยนแสดงความคิดเห็นการแก้ไขปัญหา รวมถึงมีมาตรการช่วยเหลือผู้ ประกอบการ SME ให้สามารถปรับตัวรับความเสี่ ยงผลจากความผันผวนของอั ตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยที่ทยอยปรับสู งขึ้น - ที่ประชุมกกร. ตระหนักถึงภัยหลอกลวงทางการเงิ
นออนไลน์ ที่บั่นทอนความเชื่อมั่ นในระบบเศรษฐกิจ กิจกรรมที่ใช้อำนวยความสะดวก เช่น ธุรกิจที่ใช้ SMS และ เว็บไซต์ลิงค์ ติดต่อลูกค้า กลายเป็นช่องทางของมิจฉาชี พในการหลอกให้โอนเงินผ่านมือถื อเข้าบัญชีม้า หรือวอลเล็ต ซึ่งภาคธุรกิจจะทบทวนช่ องทางเหล่านี้เพื่อป้องกันภั ยทางการเงินที่จะเกิดขึ้น โดยล่าสุดภาคธนาคารทยอยลดการใช้ SMS ในการติดต่อลูกค้าในระยะนี้ โดยรูปแบบการหลอกลวงล่าสุด คือ หลอกให้เราโอนเอง จากการเข้าไปฝังตัวในมือถือเพื่ อสั่งโอนเงินระยะไกล ปัจจุบันภาคธนาคาร ภาคโทรคมนาคม และภาคตลาดทุนหาแนวทางป้องกันภั ยในทุกรูปแบบ หากร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกั นและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโ ลยี มีผลบังคับใช้ จะช่วยให้การดูแลช่วยเหลื อประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชี พทำได้รวดเร็วขึ้น ระงับความเสียหายได้อย่างทันท่ วงที สามารถบล็อกบัญชีต้องสงสัยได้ โดยไม่ต้องรอแจ้งความ การแก้ปัญหาภัยทางการเงิน ต้องได้รับความร่วมมือจากทุ กภาคส่วน ครอบคลุมทุกกระบวนการตั้งแต่ต้ นจนจบ (end to end) ตั้งแต่การใช้มือถือ จนถึงการโอนเงินออก ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิ จการโทรทัศน์และกิ จการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิ จและสังคม ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มื อถือ ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียต่างๆ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรั พย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานป้องกั นและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) โดยภาคธนาคารเป็นเพียงส่วนหนึ่ งของการแก้ปัญหาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น