1 มิถุนายน 2565 - กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านวัสดุศาสตร์ (Materials Science) ร่วมจัดนิทรรศการแสดงนวัตกรรมแห่งความยั่งยืนเพื่อภาคอุตสาหกรรม ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตามโมเดล BCG ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ณ โรงแรม Centara Grand and Bangkok Convention Centre at Central World กรุงเทพฯ จัดโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2565 เพื่อนำเสนอนวัตกรรมที่ยั่งยืนและโขว์ศักยภาพการผลิตของโรงงาน Dow และบริษัทร่วมทุนในประเทศไทย รวมถึงความร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อผลิตสินค้าตอบสนองนโยบาย BCG โดยมีผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคเข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรกหลักเกิดการระบาดโควิด-19
นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของ Dow ที่ช่วยขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ได้แก่ เม็ดพลาสติกประสิทธิภาพสูงสำหรับผลิตเป็นถุงรีฟิลรีไซเคิลได้ร้อยเปอร์เซ็น มีคุณสมบัติดีเทียบเท่าเดิม และเม็ดพลาสติกสูตรพิเศษผสมพลาสติกใช้แล้ว (Post-Consumer Recycled Resin หรือ PCR) สำหรับผลิตเป็นฟิล์มหดรัดสินค้า (Collation Shrink Film) ในส่วนของอุตสาหกรรมก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ สารเคลือบผิวถนน ลานจอดรถ ทางจักรยานที่ลดกลิ่นสารระเหย ด้วยการใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย และนวัตกรรมสีฟอกอากาศช่วยลดสารระเหยภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยของช่างทาสี ผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ Dow ยังได้โชว์ตัวอย่างนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมเครื่องอุปโภคบริโภคที่ทำมาจากวัตถุดิบชีวภาพ ซึ่งได้ร่วมพัฒนากับคู่ค้าให้เกิดความปลอภัยแก่ผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำยาซักผ้าเด็กออกานิกจากเปลือกไม้ สารเพิ่มประสิทธิภาพครีมกันแดดเป็นมิตรกับประการัง สเปรย์แต่งผม และครีมบำรุงผมที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง Dow ได้โชว์นวัตกรรมลดเสียงรางรถไฟ หรือ SilentTrack® เพื่อทดแทนกำแพงกันเสียงตามแนวรถไฟ ทำให้ไม่ต้องเสียทรัพยากรในการก่อสร้าง
ผลิตภัณฑ์ของ Dow สามารถช่วยผู้ประกอบการไทยผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบความต้องการผู้บริโภคและนโยบายภาครัฐด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศต่างๆในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนของ Dow ด้านการต้านโลกร้อน โดยต้องการจะเดินหน้าไปสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และด้านการหยุดขยะและส่งเสริมวงจรรีไซเคิล โดยทุกผลิตภัณฑ์ของ Dow ที่นำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ต้องนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ทั้งหมดภายในปี 2578
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น