นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า เกษตรกรทั่วประเทศให้ความร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ยืนราคาจำหน่ายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มไว้ที่ไม่เกิน 110 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ หลังจากนั้นจะหารือร่วมกันอีกครั้ง เพื่อพิจารณาสถานการณ์การผลิตและการบริโภคให้สอดคล้องกัน โดยมุ่งดูแลค่าครองชีพของคนไทยเป็นอันดับแรก แม้ว่าเกษตรกรจะมีภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น บางฟาร์มสูงถึง 110-120 บาทต่อกิโลกรัม โดยเฉพาะต้นทุนค่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ค่าบริหารจัดการด้านการป้องกันโรคที่ต้องเข้มงวดมากขึ้น ตลอดจนค่าขนส่งที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มต่อเนื่องก็ตาม แต่ทุกคนเห็นถึงความเดือดร้อนของคนไทยในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้จึงมีมติร่วมกันดูแลระดับราคาไว้เช่นนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม ราคาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ตายตัวเสมอไป ตัวอย่างเช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราคาในพระนี้ อ่อนตัวตามความต้องการของตลาดมาอยู่ที่ 104-108 บาทต่อกิโลกรัม
“คนเลี้ยงหมูร่วมกันรักษาระดั
บราคาหมูเป็นไว้ที่กิโลกรัมละ 110 บาท ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 และจะดำเนินการต่อเนื่องเพื่
อให้สอดคล้องกับภาวะศรษฐกิ
จภาคครัวเรือนของพี่น้องประชาชน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเกษตรกรกลับตกเป็
นจำเลยของสังคม ว่าเป็นเหตุให้ราคาเนื้อหมูหรื
อสินค้าอื่นๆแพงขึ้นตามกัน ทั้งๆที่เกษตรกรขายหมูหน้าฟาร์
มได้ที่ราคาเดิมมาตลอด เป็นการขายขาดให้กับพ่อค้
าคนกลาง โดยไม่ได้มีผลกำไรหรือเกี่ยวข้
องกับราคาที่ปรับสูงขึ้นก่
อนจะถึงมือผู้บริโภค จึงอยากขอความเข้าใจและความเห็
นใจจากผู้บริโภค และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้
องมองที่กลไกตลาดเป็นสำคัญ ขอให้อุปสงค์และอุ
ปทานของตลาดเป็นตัวบ่งชี้ราคาสิ
นค้าอย่างเสรี” นายสิทธิพันธ์ กล่าว
นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวั
นออกเฉียงเหนือ กล่าวถึงข้อเสนอให้นำเข้าเนื้
อสุกรเพื่อเพิ่มปริ
มาณในประเทศว่า เกษตรกรยืนยันคัดค้านเรื่องนี้
ให้ถึงที่สุด เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่
ยงจากเรื่องโรคต่างถิ่นที่
อาจปนเปื้อนเข้ามากระทบกับฝูงสุ
กรของไทย และการนำเข้าเนื้อสุกร ชิ้นส่วน รวมถึงสุกรแปรรูปจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป มีความเป็นไปได้ที่ไทยต้องเปิดให้นำเข้าตลอดไป และมีโอกาสที่จะส่งเข้ามาไม่จำกัด เมื่อปริมาณมากขึ้นอย่างไร้การควบคุม จะทำให้เกษตรกรต้องรับภาระขาดทุนจากภาวะสุกรล้นตลาด ที่สำคัญเนื้อสุกรนำเข้าเหล่านี้ คือตัวการบ่อนทำลายกลไกการเลี้ยงสุกรของไทย เมื่อเกษตรกรไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ย่อมถอดใจเลิกเลี้ยงสุกรทิ้งอาชีพเดียวไป ความมั่นคงทางอาหารของประเทศต้องสั่นคลอน และต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารโปรตีนในที่สุด./
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น