กระทรวงสาธารณสุข จับมือภาคีเครือข่าย เดินหน้าโครงการเป้าหมายปี 2564 หัวข้อ"เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก" เพื่อยกระดับศักยภาพทักษะความรู้ความสามารถเชิงสร้างสรรค์ของเด็กไทยยุคดิจิตัลจากสังคมรอบด้าน โดยเริ่มจากสังคมครอบครัวเป็นพื้นฐาน เพื่อปรับทัศนคติในเชิงบวก เน้นอิสระในการเรียนรู้ของเด็ก
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขจัดเเถลงข่าวกิจกรรมโครงการเป้าหมายปี 2564 เรื่อง เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก ขึ้น ณ อาคารทีปังกรการุณยมิตร ชั้น 1 สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กเเห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี โดย ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงโครงการดังกล่าวว่าเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่เกิดจากการเล่นอย่างอิสระตั้งเเต่เเรกเกิด ซึ่งสามารถช่วยเสริมพัฒนาการเด็กรอบด้าน จึงได้เกิดโครงการขับเคลื่อน"เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก Model" ขึ้น เดินหน้านโยบายการเรียนรู้นี้ลงสู่ชุมชน โดยคัดเลือกจังหวัดในเขตภูมิภาคตาม พรบ.การศึกษา 4 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ กาญจนบุรี สตูล เเละระยอง มาศึกษาวิจัยร่วมกันกับการลงพื้นที่สำรวจ เพื่อพัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมดด้วยกัน 4 ภาคมาสู่ต้นเเบบเด็กไทยสร้างสรรค์ โดยตั้งเป้าหมายในปี 2564 นั้นจะเดินหน้าโครงการพัฒนาเด็กไทยให้มีศักยภาพขึ้นเเท่นเป็นต้นเเบบครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะมีคู่มือผู้อำนวยการเล่น (Play worker) เป็นไกด์ไลน์ใช้สำหรับกิจกรรม "การเล่นเปลี่ยนโลก" ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่บ้าน และชุมชนด้วย
ด้าน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของกรมอนามัยที่ผ่านมาว่า กรมอนามัยได้ร่วมกับกรมสุขภาพจิต เครือข่ายสมาคมการเล่นนานาชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) และสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก ได้เข้าร่วมการพัฒนาส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้เป็นเด็กที่มีทักษะความรู้ความเข้าใจกับโลกที่เปลี่ยนแปลง ด้วยแนวคิด 'เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก โมเดล' โดยมุ่งเน้นพัฒนา IQ EQ และEF ผ่านการเล่นในเชิงสร้างสรรค์จนเกิดแนวคิดการขับคลื่อน
อธิบดีกรมอนามัย อธิบายต่อไปอีกว่า "เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก Model" ซึ่งเป็นการเล่นรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นด้วยแนวคิด 3F ได้แก่ F : Famiy คือการเล่นกับครอบครัว เพื่อน พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีทักษะและสร้างแรงจูงใจในการเล่น F: Free คือการเปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามความต้องการอยากจะเล่น โดยมีมุมเล่น ลานเล่น สนามเด็กเล่น ที่บ้าน โรงเรียน ชุมชนให้เด็กเล่นที่ไหนก็ได้ขอให้ปลอดภัย และ F : Fun คือการเล่นให้สุข สนุก โดยมีกิจกรรมสื่อของเล่นหลากหลาย หาง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นไปตามวัย เน้นธรรมชาติ โดยเเนวคิด 3F จะต้องสอดรับกับองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1.พื้นที่เล่นในทุกช่วงเวลา(space) 2.กระบวนการเล่น (Play)เน้นการเล่นที่อิสระที่ส่งเสริมทางกายภาพเเละ ครอบครัวมีส่วนร่วม 3.หน่วยบริหารจัดการการเล่น (Play Management Unit) การส่งเสริมของครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยบริการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน 4.ผู้อำนวยการเล่น (play worker)ผู้ที่สนับสนุนการเล่นของเด็ก โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางดำเนินการผ่านพ่อแม่ ผู้ปกครองเเละชุมชน
ทางด้าน นางสุภัชชา สุทธิพล อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินการผ่านคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย 76 จังหวัด เเละกรุงเทพมหานครได้นำนโยบายเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกมาใช้พัฒนาเด็กปฐมวัย ปี2564 ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยประชาสัมพันธ์ให้สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนทั่วประเทศจำนวน 1,439 เเห่ง ได้เกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้คู่มือผู้อำนวยการเล่น พร้อมเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
ทางด้าน นายนิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้เข้ามามีส่วนร่วมโครงการในเเง่มุมของผู้อำนวยการเล่นในระดับโรงเรียน โดยจะเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องสภาพเเวดล้อมการเรียน ทั้งภายในเเละภายนอกห้องเรียน เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น
ทางด้าน นายทวี เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาโดยเริ่มจากชุมชนท้องถิ่นซึ่งถือเป็นการพัฒนาในด้านทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งแนวคิดให้เด็กได้เล่นและเรียนรู้อย่างมีความสุขจากวัสดุเรียนรู้ที่ได้จากธรรมชาติ จำนวน 5 ฐาน ได้แก่ 1. ฐานสระว่ายน้ำอินจัน 2. ฐานสระทารก 3. ฐานค่ายกล Spider man 4.ฐานเรือสลัดลิง เเละ 5.ฐานหัดว่ายน้ำ ปัจจุบันมีศูนย์พัฒนาเด็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาแล้วจำนวน 3224 แห่ง
ทางด้าน นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กปฐมวัย จึงสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเเละภาคีเครือข่ายการเล่น จนเกิดองค์ความรู้การเล่นอย่างอิสระ หลักสูตรฝึกอบรม play Worker หรือผู้ดูแลการเล่นเครือข่ายทีมวิทยากร พื้นที่ต้นแบบ และภาคีในระดับนานาชาติ ซึ่ง สสส. และภาคีเครือข่ายพร้อมที่จะหนุนเสริมการขับเคลื่อนนโยบายเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกในครั้งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น