นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เปิดเผยถึงสถานการณ์สุกรในปัจจุ บันว่า ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ มของเกษตรกรทั่วประเทศยังคงยื นราคาที่ 78-79 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่ งชาติประกาศราคาแนะนำ โดยเกษตรกรภาคเหนือยืนยันให้ ความร่วมมือรักษาระดับราคาสุ กรขุนไม่ให้เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่ให้สัญญากับกรมการค้ าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ไว้ว่าจะร่วมกันดูแลพี่น้ องประชาชนไม่ให้มีปั ญหาขาดแคลนสุกร และไม่ให้ราคาสูงจนกระทบค่ าครองชีพประชาชน โดยระดับราคาดังกล่าวถือว่ าเกษตรกรพอมีรายได้กลับมาต่อทุ นเพื่อเลี้ยงสุกรในรุ่นถัดไปเท่ านั้น ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงสุกรยังมี แนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้ งราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ต่ างปรับตัวขึ้น ตามความต้องการใช้ที่เพิ่ม ที่สำคัญเกษตรกรทั้งประเทศยังต้ องต่อสู้กับ โรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ทำให้มีต้นทุนการป้องกันและเฝ้ าระวังโรคเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ ยงไม่ได้
นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ กล่าวว่าปัจจุบันการบริ โภคของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็นอย่ างมากจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะห้างร้านต่างๆที่กลั บมาเปิดดำเนินการ ผนวกกับโรงเรียนเปิดเทอม ขณะที่ปริมาณผลผลิตหมูขุนออกสู่ ตลาดน้อยลง หมูเป็นที่จับมีขนาดเล็กลงอย่ างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ เน้นย้ำให้กลุ่มผู้เลี้ยงรั กษาระดับราคาภายในประเทศเพื่ อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน แม้ว่าเกษตรกรจะมีต้นทุนการเลี้ ยงหมูสูงถึง 71 บาทแล้วก็ตาม แต่ทุกคนก็พร้อมตรึงราคาหมูหน้ าฟาร์มไว้ที่ไม่เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม และพร้อมให้ความร่วมมือกั บสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ในการจัดกิจกรรมจำหน่ายหมูลดค่ าครองชีพประชาชนทั่วไทยสู้ภั ยโควิด เพื่อส่งตรงหมูสดจากฟาร์มถึงมื อผู้บริโภค โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง พร้อมกันทุกภูมิภาค วันที่ 7 สิงหาคม ศกนี้
“หมูไทยราคาไม่ได้สูงไปกว่ าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่ต้องรับมือกั บโรค ASF ที่ระบาดอย่างหนักอย่างจีน เวียดนาม เมียนมา ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นหลายเท่าตั ว จากการขาดแคลนหมูอย่างหนัก เพราะภาวะโรค ช่วงนี้ที่ราคาหมูขยับขึ้ นตามกลไกตลาด ขอให้ประชาชนเข้าใจและเห็ นใจเกษตรกรที่ต้องเผชิญปั ญหาราคาหมูตกต่ำจากผลผลิตล้ นตลาดนานกว่า 3 ปี หากเห็นว่าหมูราคาสูงทุกท่านยั งมีทางเลือกรับประทานโปรตีนอื่ นๆทดแทนได้ ทั้งปลา ไข่ ไก่ แต่พวกเรามีอาชีพเลี้ยงหมูอาชี พเดียวเท่านั้น ขอให้กลไกตลาดได้ทำงาน หากถูกควบคุมมากจนเกิ นไปเกษตรกรอาจไม่สามารถไปต่ อในอาชีพนี้ได้” นายสุนทราภรณ์ กล่าว./
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น