บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK ผู้ให้บริการเช่าซื้อรถจั กรยานยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 กำไรสุทธิ 100.6 ล้านบาท ลดลง 10.8% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน หลังจากปรับใช้ TFRS9 ลูกหนี้เช่าซื้อรวม 6,777.7 ล้านบาท ลดลง 8.9% และมีลูกหนี้เช่าซื้อรถจั กรยานยนต์ 6,127.9 ล้านบาท ลดลง 11.7% เนื่องจากนโยบายเข้มงวดการปล่ อยสินเชื่อรถจักรยานยนต์มาตั้ งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2561 หรือตลอด 6 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ ยังมีนโยบายเร่งขยายธุรกิจเพื่ อเพิ่มสัดส่วนรายได้ในต่ างประเทศ เนื่องจากมีโอกาสเติบโตอีกมาก คาดสิ้นปี 2563 สัดส่วนลูกหนี้เช่าซื้อรถจั กรยานยนต์โต 30% เนื่องจากการเข้าซื้อกิ จการไมโครไฟแนนซ์ในเมียนมา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ของปีนี้ ด้านสถานการณ์ COVID-19 บริษัทฯ ได้อนุมัติแผนการช่วยเหลือกลุ่ มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้ งทางตรงและทางอ้อมไปในช่ วงปลายไตรมาส 1 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีกับคุณภาพลู กหนี้เช่าซื้อในพอร์ท สำหรับแผนระยะถัดไป บริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน กรณีสถานการณ์ดังกล่าวยังคงยื ดเยื้อต่อเนื่อง
นางสาวปฐมา พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK เปิดเผยว่าตามที่ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติงบการเงินสำหรั บรอบบัญชีสิ้นสุดไตรมาส 1 โดยรายได้รวมเท่ากับ 740.9 ล้านบาท ลดลง 24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน เนื่องจากบริษัทฯ มีนโยบายเข้มงวดในการปล่อยสิ นเชื่อ กำไรสุทธิรวม 100.6 ล้านบาท ลดลงเพียงเล็กน้อยหลังจากมี การเริ่มใช้มาตรฐานบัญชีแบบใหม่ TFRS9 ลูกหนี้เช่าซื้อรวมทั้งสิ้น 6,777.7 ล้านบาท ลดลง 11% อันเป็นผลมาจากนโยบายการเร่งตั ดหนี้สูญและเพิ่มความเข้ มงวดในการปล่อยสินเชื่ออย่างต่ อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2561 โดยลูกหนี้เช่าซื้อรถจั กรยานยนต์ในต่างประเทศ จำนวน 1,425.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.7% จากสิ้นปี 2562 และเพิ่มสัดส่วนเป็น 22.2% นอกจากนี้บริษัทฯ มีนโยบายเร่งขยายตลาดในต่ างประเทศ ด้วยการเพิ่มสาขาในต่างประเทศอี ก 9 สาขา โดยที่กัมพูชา เพิ่ม 6 สาขาให้ครบจำนวน 12 สาขาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและที่ สปป.ลาว คาดว่าเพิ่ม 3 สาขา รวมเป็น 6 สาขา ภายในกลางปีนี้ ซึ่งอาจจะมีการอนุมัติล่าช้าเนื่ องจากใน สปป.ลาว มีการ Lock Down ประเทศในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการอนุมัติการเข้าซื้อกิ จการไมโครไฟแนนซ์ในเมียนมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนิ นการและคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่ วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าสัดส่วนลูกหนี้เช่าซื้ อรถจักรยานยนต์ในต่ างประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 30%
ทางด้าน นายประพล พรประภา กรรมการและรองผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศในช่ วง 3 เดือนแรก มียอดจดทะเบียน 431,004 คัน ลดลง 6.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่ 462,205 คัน อีกทั้งอุตสาหกรรมรถจั กรยานยนต์ในประเทศมีการปรับเป้ าการผลิตรถจักรยานยนต์ลง 2 แสนคัน เหลือ 1.8 ล้านคัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อขายในประเทศ 1.5 ล้านคัน (เดิมตั้งไว้ 1.7 ล้านคัน) และส่งออก 3 แสนคัน (เดิมตั้งไว้ 4 แสนคัน) ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้ อภายในประเทศและผลของสงครามการค้ าสหรัฐและจีน ต่อเนื่องมาถึงปัญหาวิกฤติ COVID-19 ซึ่งยังไม่สามารถประเมิ นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้ งหมดได้อย่างชัดเจน แต่ในเบื้องต้นบริษัทฯ ได้มีการจัดทำแผนธุรกิจเพื่ อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวเป็ นการเตรียมพร้อม ทั้งในส่วนของการช่วยเหลือลูกค้ าและแผนงานการดำเนินธุรกิ จของบริษัทฯ หากสถานการณ์ดังกล่าวยั งคงลากยาวไปจนถึงปลายปีหรื อยาวกว่านั้น อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสถานการณ์รอบด้าน คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิ จโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศจะยั งมีการชะลอตัวไปอีกระยะหนึ่ง โดยในช่วงนี้ TK จะเน้นการบริหารคุณภาพลูกหนี้ ควบคู่กับการเติบโตในตลาดต่ างประเทศ ส่วนในประเทศ หากสถานการณ์ดังกล่าวปรั บตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น TK ก็มีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านฐานทุ นและการเงินในการกลับมาเร่ งทำตลาด โดยทั้งหมดนี้นับว่าเป็นความท้ าทายอย่างมากในการดำเนินธุรกิ จในปี 2563
“ในปี 2563 นี้ ถึงแม้จะเป็นปีที่มีความท้าทาย โดยเฉพาะความท้ าทายจากโรคระบาดอุบัติใหม่อย่ างไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบกับทั้งสั งคมและเศรษฐกิจไปทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ดังนั้น นอกจากจะต้องบริหารธุรกิจให้เป็ นไปตามเป้าหมายแล้ว TK ยังให้ความสำคัญเรื่องของสุ ขภาพและความปลอดภัยของพนักงานทุ กคนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งยังให้ติ ดตามผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจั ดทำแผนความช่วยเหลือลูกค้ากลุ่ มที่ได้รับผลกระทบ โดยที่ผ่านมาเราได้มีโครงการให้ ความช่วยเหลือลูกค้าในหลายรู ปแบบ เช่น การพักชำระหนี้หรือชำระบางส่ วนของค่างวด การให้ความคุ้มครองฟรีกรณี ตรวจพบการติดเชื้อ COVID-19 และการให้ส่วนลดดอกเบี้ยเพิ่ มเติมในกรณีลูกค้าปิดจบสัญญาก่ อนกำหนด” นายประพลกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น