การหยุดชั่วคราวหรือการปิ ดโรงแปรรูปเนื้อสัตว์ และโรงงานผลิ ตอาหารในหลายประเทศหลั งพบคนงานป่วยติดเชื้อโควิด19 โดยเฉพาะผู้ผลิตอาหารใหญ่ของโลก อย่าง สหรัฐอเมริกา บราซิล ก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อผู้ บริโภค เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในห่ วงโซ่การผลิตอาหารทั้งหมด แม้ขณะนี้หลายประเทศรวมทั้ งประเทศไทยเริ่มผ่ อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ แต่เรื่องการบริโภคอย่างปลอดภั ยไม่ติดโรคยังเป็นปัจจัยที่ไม่ อาจละเลยได้ อุตสาหกรรมอาหารจึงไม่ควร “การ์ดตก” เพราะความเสี่ยงการกลั บมาของโรคระบาดเป็นไปได้ ตลอดเวลา ที่สำคัญทั่วโลกยังไม่มีวัคซี นป้องกัน
องค์กรอาหารและเกษตรแห่ งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) แนะนำให้ภาคการผลิตอาหารต้ องยกระดับมาตรการขั้นสูงสุ ดในการป้องกันการแพร่ ระบาดของโรค เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการผลิ ตอาหารมนุษย์มีความปลอดภัยสูงสุ ด
โรคโควิด19 นับเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ ประชากรโลกต้องเผชิญและมีผลต่ อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปสู่วิ ถีชีวิตใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกั บมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากเชื้ อโรคและโรคต่างๆ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลิ นิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำแนะนำผู้ที่เกี่ยวข้องในอุ ตสาหกรรมอาหาร ว่า “สิ่งที่เรากลัวที่สุดคื อการระบาดของโรคโควิด 19 ในโรงงานเพราะเป็นสถานที่ รวมของคนจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนเตรี ยมการที่ดี อย่างเช่น เน้นการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หรือ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Physical Distancing) การเข้า-ออกกะ ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผั สและการรวมพลของคนหมู่มาก เพราะเรารู้ว่าในคนหมู่มากถ้ าเกิดโรคกับคนใดคนหนึ่ง คนที่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อทุ กคนจะต้องถูกกักตัวเป็นกลุ่ มใหญ่จนไม่เหลือคนทำงาน”
ในสายการผลิตควรเตรียมแผนปฏิบั ติการไว้ล่วงหน้ากรณีเกิ ดการระบาดของโรคโควิด 19 ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละกะการทำงาน ควรแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน เพราะหากพบผู้ป่วยติดเชื้อในที มหนึ่งอาจต้องกักตัวผู้สัมผั สใกล้ชิดทุกคนในทีม หลังปิดไลน์การผลิต ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแล้วต้ องมีทีมงานกลุ่มใหม่เข้ าไปทำงานแทนทันที เพราะไม่สามารถปิดโรงงานได้ 14 วัน การเตรียมการต่างๆ ถือว่ามีความจำเป็นมาก ต้องมีการวางแผนและซ้อมแผนเป็ นอย่างดี หากไม่วางแผนทีดีเมื่อเกิดปั ญหาขึ้นจะเป็นอุปสรรคอย่ างมากหากไม่สามารถดำเนินการผลิ ตต่อไปได้
น.สพ.ยง ยืนยันว่า Covid-19 ไม่ติดต่อ หมู เป็ด และไก่ และสัตว์เหล่านี้ไม่เป็นแหล่งรั งโรค หรือเป็นพาหะแพร่โรคมาสู่คน แต่ในการผลิตอาหาร ต้องให้ความสำคัญเรื่ องความสะอาดและสุขอนามัยของทุ กคนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ การผลิต รวมถึงเกษตรกรผู้ที่ทำหน้าที่ ผลิตวัตถุดิบ โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปอาหารที่มี พนักงานทำงานในสายการผลิต จำเป็นต้องเน้นถึง การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่ างเคร่งครัด การกำหนดระยะห่างของสังคม รวมทั้ง การมีมาตรการป้องกั นและแผนสำรองรองรับอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้ห่วงโซ่ การผลิตอาหารของประเทศต้องหยุ ดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นจุดใดจุดหนึ่ง
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นหนึ่งในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้ นนำระดับโลก ตระหนักถึงความสำคั ญของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้ยกระดับมาตรการการป้องกันโรค ความปลอดภัยด้านอาหาร ตลอดห่วงโซ่ Feed-Farm-Food พร้อมดูแลสุขอนามัยทั้งของพนั กงานและโรงงานอย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับแนวปฏิบัติขององค์ การอนามัยโลก กรมควบคุมโรค กรมอนามัย และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บริษัทฯ ยังได้ศึกษาและถอดบทเรี ยนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้ นในประเทศจีน พร้อมทั้งปรึกษากับผู้เชี่ ยวชาญด้าโรคระบาด เพื่อให้ สามารถกำหนดมาตรการความปลอดภั ยได้อย่างเหมาะสมตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเข้มแข้ งในกระบวนการผลิตอาหารให้มี ความต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่การผลิ ตตั้งแต่ Feed-Farm-Food เพื่อสร้างความเชื่อมั่ นในการบริโภคอาหารปลอดภัยว่ าและจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริ โภคอย่างเพียงพอ
ซีพีเอฟ ยังกำหนดระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และระยะห่างทางบุคคล (Physical Distancing) เป็นแนวทางปฏิบัติที่เคร่งครัด เพื่อช่วยลดความเสี่ ยงของการแพร่ระบาดในโรงงานแปรรู ปอาหารมากที่สุด ตั้งแต ารเดินทางของพนักงาน บริษัทฯ เพิ่มจำนวนรถรับส่งพนักงาน เพื่อให้พนักงานได้นั่ งบนรถแบบเว้นระยะห่างอย่างน้ อยประมาณ 1 เมตร ตามคำแนะนำของ WHO รวมทั้ง กำหนดระยะห่างในจุดที่เสี่ ยงมากที่สุด คือ โรงอาหาร โดยการเพิ่มระยะเวลาช่วงพั กกลางวัน เพื่อให้มีระยะห่างในรั บประทานอาหาร การยืนรอคิว รวมไปการกำหนดจุดที่นั่งพัก งดกิจกรรมการตรวจเยี่ ยมโรงงานและฟาร์มของบุคคลภายนอก และมีการตรวจคัดกรองลูกค้าและผู้ รับเหมาอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของพนั กงานทุกคน
สำหรับโรงงานแปรรูปอาหารของบริ ษัทฯ มีการติดตั้งประตูสแกนอุณหภูมิ ร่างกายแบบเดินผ่าน (Walk-through body temperature scanner) ช่วยคัดกรองอุณหภูมิพนักงานทุ กคนได้แม่นยำยิ่งขึ้น ตลอดจนการปฏิบัติตนตามหลักสุ ขอนามัยอย่างเคร่งครัด ทั้งการใส่หน้ากากอนามัยและหมั่ นล้างมือเป็นประจำ การเพิ่มความถี่ ในการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่ าเชื้อพื้นที่และจุดที่สัมผัสบ่ อย ทำ Big Cleaning Day และพ่นยาฆ่าเชื้อสม่ำเสมอ รวมทั้งเพิ่มการขนส่งแบบไร้ การสัมผัสมือด้วยระบบสายพาน
นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้ง “ศูนย์ฮอทไลน์ โควิด19” (CPF Covid-19 hotline) เป็นช่องทางพิเศษเพื่อให้พนั กงานได้สื่อสารกับบริษั ทโดยตรงทั้งสอบถามข้อมูลและแจ้ งอาการป่วยได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทำความเข้าใจพนักงานทุ กคนทุกระดับ เพื่อให้พนักงานทุกคนมั่ นใจความปลอดภัยในการทำงานร่วมกั นอย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีล่ามแปลภาษาเมี ยนมาและกัมพูชาเพื่อให้พนั กงานต่างชาติรู้และเข้ าใจสามารถปฏิบัติ ตามมาตรการของบริษัทฯได้
ซีพีเอฟ ได้ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยสู งสุดสำหรับบุ คลากรและในกระบวนผลิตอาหาร ตามวิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยและสร้ างความมั่นคงทางอาหารอย่างเพี ยงพอและยั่งยืนสำหรั บประชากรโลก./
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น