นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ มเกษตรกรปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 2.60 บาทต่อฟอง ลดลงจาก 2.80 บาทเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา เป็นผลมาจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ ส่วนเกินสะสมมากนานกว่า 3 สัปดาห์แล้ว หลังจากสถานการณ์ไข่ขาดแคลนในช่ วงก่อนนี้จากการเร่งกักตุ นของประชาชนและพ่อค้าคนกลางคลี่ คลายลง ขณะที่ผู้บริโภคต่างทยอยเคลียร์ สต๊อกไข่ด้วยการบริโภคในครัวเรื อนให้หมดก่อน ผนวกกับกำลังซื้อที่ ลดลงของประชาชน ส่งผลให้ตลาดไข่ไก่ซบเซาเป็นอย่ างมาก กระทบโดยตรงกับเกษตรกรที่ต้ องขายไข่ไก่ในราคาต่ำลง ปัจจุบันเกษตรกรและผู้ ประกอบการยังคงดำเนิ นการตามมาตรการของภาครัฐ ทั้งการยืดอายุการเลี้ยงแม่ไก่ ไข่จากเดิม 80 สัปดาห์ออกไป และการงดส่งออกไข่ไปจนถึงวันที่ 30 เมษายนศกนี้ ส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่เพิ่มมากขึ้ นจนเกินความต้องการทุกวัน
“ในห่วงโซ่การผลิตไข่ไก่ นอกจากเกษตรกรในฐานะผู้ผลิตแล้ว ยังมีพ่อค้าคนกลางเป็นตั วแปรสำคัญในการปล่อยไข่ไก่ออกสู่ ตลาด หรือเก็บกักไข่ในห้องเย็นเพื่ อเก็งกำไร หรือเทขายหากคาดการณ์ว่าราคาไข่ จะตกลง จึงอยากขอให้กรมการค้ าภายในตรวจสอบกลุ่มพ่อค้ าคนกลางหรือล้งไข่อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนช่ วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้เกษตรกรภาคใต้ยังกั งวลกับปัญหาการส่งไข่ไก่มาดั๊ มพ์ตลาดของพ่อค้าอย่างที่เคยเกิ ดขึ้นในอดีต ที่เมื่อไข่ราคาถูกก็จะขนไข่ ลงใต้จำนวนมากเกินความต้ องการในพื้นที่ กระทบเกษตรกรใต้อย่างรุนแรง” นายสุเทพ กล่าว
นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ กล่าวอีกว่า ไข่ไก่เป็นสินค้าอ่อนไหว เมื่อมีอะไรมากระทบมักเกิ ดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งถ้าปัจจัยที่กระทบนั้นไม่ ใช่วิถีปกติตามธรรมชาติ เช่นเกิดความตระหนกของประชาชน หรือการกักเก็บเพื่อทำกำไรของพ่ อค้าคนกลาง หรือการแทรกแซงกลไกตลาดไข่ไก่ ล้วนก่อให้เกิดผลเสียต่ อเกษตรกรผู้ผลิตไข่ไก่มากขึ้น ดังเช่นการห้ามระบายผลผลิตส่ วนเกินออกนอกประเทศ ซึ่งทำให้เกิดภาวะไข่ล้นตลาดดั งเช่นปัจจุบัน ทั้งๆที่การระบายไข่ไก่ไปขายต่ างประเทศต้องขายในราคาขาดทุน เช่นในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ ปีนี้ ไทยส่งออกไข่ลดลงไปกว่าครึ่ งจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยราคาส่งออกเฉลี่ยฟองละ 2 บาท ยังไม่รวมต้นทุนค่าจัดการต่างๆ ถือเป็นการขายขาดทุนเพื่อรั กษาเสถียรภาพราคาในประเทศ ไม่ให้ตกต่ำจนเกษตรกรต้องเดื อดร้อน./
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น