เกษตรกรไก่ไข่ ยันไข่เพียงพอกับการบริโภค ชี้ร้อนแล้งกระทบผลผลิต เกษตรกรมีต้นทุนค่าน้ำ-ไฟร่วม 10 สตางค์ต่อฟอง - Today Updatenews

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

เกษตรกรไก่ไข่ ยันไข่เพียงพอกับการบริโภค ชี้ร้อนแล้งกระทบผลผลิต เกษตรกรมีต้นทุนค่าน้ำ-ไฟร่วม 10 สตางค์ต่อฟอง

นางพเยาว์ อริกุล นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง เปิดเผยถึงสถานการณ์ไก่ไข่ในขณะนี้ว่า ปัญหาไข่ไก่ขาดแคลนก่อนหน้านี้ริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์เร่งตรวจสอบจับกุมและดำเนินคดีกับผู้จำหน่ายไข่ไก่ทั่วประเทศ ที่ไม่ปิดป้ายแสดงราคา ขายไข่ไก่ในราคาแพง และมีพฤติกรรมกักตุนสินค้า ทำให้ผู้ค้าไม่กล้าฉกฉวยโอกาสและผู้บริโภคมีความเข้าใจในสถานการณ์และเริ่มซื้อไข่ไก่ในปริมาณที่เพียงพอกับการบริโภคในครัวเรือน ทั้งนี้สมาคมฯและเกษตรกรผู้เลี้ยงทุกคนยังคงร่วมมือกันบริหารจัดการการเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีผลผลิตไข่ไก่เพียงพอกับการบริโภคของคนไทยและยืนยันว่าไข่ไก่จะไม่ขาดแคลน ตลอดจนกำชับให้สมาชิกสมาคมฯดูแลราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มให้เป็นไปตามที่ตกลงกับกระทรวงพาณิชย์คือไม่ให้เกิน 3 บาทต่อฟอง และเกษตรกรได้ยืดอายุแม่ไก่ไข่ยืนกรงออกไปตามที่แต่ละฟาร์มเห็นว่าเหมาะสม จากเดิมที่กำหนดให้ปลดแม่ไก่ยืกรงที่อายุ 80 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มปริมาณไข่ไก่เข้าสู่ลาดตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งการ

“ปัจจุบันทุกภาคทั่วประเทศนอกจากจะเผชิญกับสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ทำให้แม่ไก่ให้ไข่ลดลงประมาณ 10-15% และอากาศเช่นนี้ส่วนใหญ่ไข่จะมีแต่ขนาดกลางถึงเล็กประมาณเบอร์ 3-4-5 เท่านั้น จากปกติมีไข่ไก่  6 ขนาด คือเบอร์ 0 ใหญ่สุด - เบอร์ 5 เล็กสุด ส่งผลให้เกษตรกรขายไข่ได้ราคาลดลงตามไปด้วย เมื่อผนวกกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากค่าน้ำที่ต้องซื้อ ซึ่งน้ำมีหลายราคาตามคุณภาพของน้ำ และยังมีค่าไฟที่เพิ่มขึ้นจากการต้องเปิดระบบน้ำพ่นฝอยเพื่อลดความร้อนภายในโรงเรือน รวมถึงระบบน้ำและพัดลดระบายอากาศของโรงเรือนอีแวป ช่วงนี้เกษตรกรทุกคนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จากค่าน้ำค่าไฟที่เพิ่มขึ้นประมาณ 5-10 สตางค์ต่อฟอง จึงขอให้ผู้บริโภคเข้าใจเกษตรกรด้วย” นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง กล่าว

ทั้งนี้อากาศร้อนจัดโดยเฉพาะในบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้แม่ไก่ไข่มีความเครียด กินอาหารได้น้อย และให้ผลผลิตไข่น้อยลงจากปกติ ที่สำคัญภาวะแล้งทำให้เกษตรกรหลายพื้นที่ต้องซื้อน้ำมาใช้ในฟาร์ม ทั้งเพื่อให้แม่ไก่กิน รวมถึงน้ำที่ใช้สำหรับฉีดพ่นละอองฝอยตามโรงเรือนเลี้ยงไก่และบนหลังคาโรงเรือน เพื่อลดความร้อนให้ไก่ไข่ได้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ส่วนใหญ่เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด จึงจำเป็นต้องใช้วิธีนี้ในการปรับสภาพอากาศในการเลี้ยงไม่ให้ร้อนจัดจนส่งผลกระทบกับตัวสัตว์ ขณะที่การเลี้ยงในโรงเรือนปิดแบบอีแวปก็ต้องเปิดระบบทำความเย็นที่ต้องใช้น้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้./

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad